ความหมายของ ศิลปะ
ในสมัยโบราณ นักปราชญ์ได้ให้ความหมายของศิลปะ (Art) ไว้ว่า ศิลปะ คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เพราะฉะนั้น ต้นไม้ ภูเขา ทะเล น้ำตก ความงดงามต่าง ๆ ตามธรรมชาติจึงไม่เป็นศิลปะ ดอกไม้ที่เห็นว่าสวยสดงดงามนักหนา ก็ไม่ได้เป็นศิลปะเลย ถ้าหากเรายึดถือตามความหมายนี้แล้ว
สิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นทั้งหลาย ก็ล้วนแล้วแต่เป็นศิลปะทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น ภาพวาด ภาพพิมพ์ งานปั้น งานแกะสลัก เสื้อผ้าอาภรณ์ เครื่องประดับ ที่อยู่อาศัย
ยานพาหนะ เครื่องใช้สอย
สิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นทั้งหลาย ก็ล้วนแล้วแต่เป็นศิลปะทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น ภาพวาด ภาพพิมพ์ งานปั้น งานแกะสลัก เสื้อผ้าอาภรณ์ เครื่องประดับ ที่อยู่อาศัย
ยานพาหนะ เครื่องใช้สอย
ดอกกุหลาบ ทิวทัศน์ธรชาติ
ความงามในงาน ศิลปะออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ความงามทางกาย (Physical Beauty) เป็นความงามของรูปทรงที่กำหนดเรื่องราว หรือเกิดจากการประสานกลมกลืนกันของทัศนธาตุ เป็นผลจากการจัดองค์ประกอบทางศิลปะ
2.ความงามทางใจ (Moral Beauty) ได้แก่ ความรู้สึก หรืออารมณ์ ที่แสดงออกมาจากงานศิลปะหรือ ที่ผู้ชมสัมผัสได้จากงานศิลปะนั้น ๆ ในงานศิลปะชิ้นหนึ่ง ๆ มีความงามทั้ง 2 ประเภทอยู่ร่วมกัน แต่อาจแสดงออกอย่างใดอย่างหนึ่ง มากน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของงาน เจตนาของผู้สร้างและการรับรู้ของผู้ชมด้วย
ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่า “ศิลปะเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดความงาม และความพึงพอใจ” ที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์สืบเนื่องกันมาตั้งแต่อดีตอันยาวนานจนถึงปัจจุบัน และจะสร้างสรรค์สืบต่อไปในอนาคตให้อยู่คู่กับเผ่าพันธุ์มนุษย์ไปตราบนานเท่านาน โดยมีการ สร้างสรรค์ พัฒนารูปแบบต่าง ๆ ออกไปอย่างมากมายไม่มีที่สิ้นสุด
คุณค่าของงานทัศนศิลป์
มีคนเป็นจำนวนมากยังไม่เข้าใจคุณค่าของงานทัศนศิลป์ คิดว่าทัศนศิลป์คือสิ่งที่เกินความจำเป็นในการดำรงชีวิตอยู่ จริงอยู่ทัศนศิลป์มิใช่ปัจจัย 4 แต่ก็ให้ประโยชน์และมีคุณค่าต่อชีวิตมนุษย์ในด้านจิตใจและอารมณ์ไม่มากก็น้อย การที่มนุษย์ผู้นั้นจะรู้คุณค่าของงานทัศนศิลป์ได้นั้น ต้องเกิดความเข้าใจและเกิดความชื่นชม ศรัทธาเสียก่อน จึงจะรู้คุณค่าของงานทัศนศิลป์ได้ดี ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเรียนรู้คุณค่าของงานทัศนศิลป์ โดยผลงานทัศนศิลป์สามารถ แบ่งคุณค่าได้เป็น 2 คุณค่าใหญ่ๆ คือ
1. คุณค่าทางความงาม (Aesthetics Value) ความประณีตความละเอียดมีระเบียบ น่าทึ่ง มโหฬาร ประหลาด แปลกหูแปลกตา และเป็นสิ่งที่มีคุณงามความดีหรือดีเลิศทำให้ผู้พบเห็นเกิดความประทับใจไปอีกนาน สิ่งเหล่านี้เรียกรวมกันว่าคุณค่าทางความงาม ความงามที่มีอยู่ในงานทัศนศิลป์ เกิดจากการประสานกันของส่วนประกอบต่างๆ ของความงามเช่น จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง สี แสงเงา พื้นผิว ความกลมกลืน และการจัดภาพ เป็นต้น โดยผู้สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์จะแสดงออกตามความรู้สึก ในแต่ละเหตุการณ์แต่ละสังคม เพราะความงามของแต่ละสังคมย่อมมีความแตกต่างกัน ดังนั้นถ้าตั้งใจมองงานทัศนศิลป์ทั้ง 3 แขนง อย่างจริงจังโดยสังเกตพิจารณาวิเคราะห์ทุกมุม จะเห็นคุณค่าหรือเสน่ห์ในตัวเอง
2. คุณค่าทางเรื่องราว (Content Value) ผลงานทัศนศิลป์สามารถบอกเล่าเหตุการณ์ เรื่องราว ความเชื่อ และรสนิยมของมนุษย์ในสังคมแต่ละสมัยทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้น การมองคุณค่าในแต่ละสมัยจึงมีความแตกต่างกันออกไป คุณค่าทางเรื่องราวที่นำมาสร้างสรรค์ในงานทัศนศิลป์ มีดังนี้
1. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
2. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อในสิ่งเร้นลับ ศรัทธา
3. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี
4. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง
5. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับวรรณคดี นิทานพื้นบ้าน สำนวน คำพังเพย สุภาษิต
7. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อในสิ่งเร้นลับ ศรัทธา
3. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี
4. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง
5. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับวรรณคดี นิทานพื้นบ้าน สำนวน คำพังเพย สุภาษิต
7. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ทัศนธาตุ (Visual Elements)
ในทางทัศนศิลป์ หมายถึง ส่วนประกอบของศิลปะที่มองเห็นได้ ประกอบไปด้วย
1. จุด (Dot) หมายถึง รอยหรือแต้มที่มีลักษณะกลม ๆ ปรากฎที่พื้นผิว ซึ่งเกิดจากการจิ้ม กด กระแทก ด้วยวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ดินสอ ปากกา พู่กัน และวัสดุปลายแหลมทุกชนิด จุด เป็นต้นกำเนิดของเส้น รูปร่าง รูปทรง แสงเงา พื้นผิว ฯลฯ เช่น นำจุดมาวางเรียงต่อกันจะเกิดเป็นเส้นและการนำจุดมาวาง
ให้เหมาะสม ก็จะเกิดเป็นรูปร่าง รูปทรง และลักษณะผิวได้
ให้เหมาะสม ก็จะเกิดเป็นรูปร่าง รูปทรง และลักษณะผิวได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น