ภาษาไทย หรือ ภาษาไทยกลาง เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ

ชื่อภาษาและที่มา

คำว่า ไทย หมายความว่า อิสรภาพ เสรีภาพ หรืออีกความหมายหนึ่งคือ ใหญ่ ยิ่งใหญ่ เพราะการจะเป็นอิสระได้จะต้องมีกำลังที่มากกว่า แข็งแกร่งกว่า เพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก คำนี้เป็นคำไทยแท้ที่เกิดจากการสร้างคำที่เรียก "การลากคำเข้าวัด" ซึ่งเป็นการลากความวิธีหนึ่ง ตามหลักคติชนวิทยา คนไทยเป็นชนชาติที่นับถือกันว่า ภาษาบาลี ซึ่งเป็นภาษาที่บันทึกพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นภาษาอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นมงคล เมื่อคนไทยต้องการตั้งชื่อประเทศว่า ไท ซึ่งเป็นคำไทยแท้ จึงเติมตัว  เข้าไปข้างท้าย เพื่อให้มีลักษณะคล้ายคำในภาษาบาลี – สันสกฤตเพื่อความเป็นมงคลตามความเชื่อของตน ภาษาไทยจึงหมายถึงภาษาของชนชาติไทยผู้เป็นไทนั่นเอง

ประวัติ

พ่อขุนรามคำแหงได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อปี พ. ศ. 1826 มี พยัญชนะ 44 ตัว (21 เสียง), สระ 21 รูป (32 เสียง), วรรณยุกต์ 5 เสียง คือ เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา ภาษาไทยดัดแปลงมาจากบาลี-สันสกฤต มอญ และ เขมร[ต้องการอ้างอิง]

สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม

ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี มีการปฏิรูปภาษาไทยโดยสภาวัฒนธรรมแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2485 มีการเปลี่ยนแปลงการสะกดคำมากมาย การเปลี่ยนแปลงหลัก ๆ ที่สังเกตได้มีดังนี้
  • ตัดพยัญชนะ             แล้วใช้   ค        ส  ตามลำดับแทน
  • พยัญชนะ ญ ถูกตัดเชิงออกกลายเป็น ญ
  • พยัญชนะสะกดของคำที่ไม่ได้มีรากมาจากคำบาลี-สันสกฤต เปลี่ยนเป็นพยัญชนะสะกดตามแม่โดยตรง เช่น อาจ เปลี่ยนเป็น อาด, สมควร เปลี่ยนเป็น สมควน
  • เปลี่ยน อย เป็น หย เช่น อยาก ก็เปลี่ยนเป็น หยาก
  • เลิกใช้คำควบไม่แท้ เช่น จริง ก็เขียนเป็น จิง, ทรง ก็เขียนเป็น ซง
  • ร หัน ที่มิได้ออกเสียง /อัน/ ส่วนใหญ่ถูกเปลี่ยนเป็นสระอะตามด้วยตัวสะกด เช่น อุปสรรค เปลี่ยนเป็น อุปสัค, ธรรม เปลี่ยนเป็น ธัม
  • เลิกใช้สระใอไม้ม้วน เปลี่ยนเป็นสระไอไม้มลายทั้งหมด
  • เลิกใช้ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ เปลี่ยนไปใช้การสะกดตามเสียง เช่น พฤกษ์ ก็เปลี่ยนเป็น พรึกส์, ทฤษฎี ก็เปลี่ยนเป็น ทริสดี
  • ใช้เครื่องหมายวรรคตอนอย่างภาษาต่างประเทศ เช่นมหัพภาคเมื่อจบประโยค จุลภาคเมื่อจบประโยคย่อยหรือวลี อัฒภาคเชื่อมประโยค และจะไม่เว้นวรรคถ้ายังไม่จบประโยคโดยไม่จำเป็น
หลังจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม หลุดจากอำนาจหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ รัฐนิยมก็ถูกยกเลิกไปโดยปริยาย อักขรวิธีภาษาไทยได้กลับไปใช้แบบเดิมอีกครั้งหนึ่ง [2]

สัทวิทยา

ภาษาไทยประกอบด้วยหน่วยเสียงสำคัญ 3 ประเภท[3] คือ
  1. หน่วยเสียงพยัญชนะ
  2. หน่วยเสียงสระ
  3. หน่วยเสียงวรรณยุกต์

พยัญชนะ

พยัญชนะต้น

ภาษาไทยแบ่งแยกรูปแบบเสียงพยัญชนะก้องและพ่นลม ในส่วนของเสียงกักและเสียงผสมเสียงแทรก เป็นสามประเภทดังนี้
  • เสียงไม่ก้อง ไม่พ่นลม
  • เสียงไม่ก้อง พ่นลม
  • เสียงก้อง ไม่พ่นลม
หากเทียบกับภาษาอังกฤษ โดยทั่วไปมีเสียงแบบที่สองกับสามเท่านั้น เสียงแบบที่หนึ่งพบได้เฉพาะเมื่ออยู่หลัง เอส (S) ซึ่งเป็นเสียงแปรของเสียงที่สอง
เสียงพยัญชนะต้นโดยรวมแบ่งเป็น 21 เสียง ตารางด้านล่างนี้บรรทัดบนคือสัทอักษรสากล บรรทัดล่างคืออักษรไทยในตำแหน่งพยัญชนะต้น (อักษรหลายตัวที่ปรากฏในช่องให้เสียงเดียวกัน) อักษรโรมันที่กำกับเป็นระบบถอดอักษรของราชบัณฑิตยสถาน
ริมฝีปากทั้งสองปุ่มเหงือกเพดานแข็งเพดานอ่อนเส้นเสียง
เสียงนาสิก[m]
m
[n]
ณ,น
n
[ŋ]
ng
เสียงกักก้อง[b]
b
[d]
ฎ,ด
d
ไม่ก้อง ไม่มีลม[p]
p
[t]
ฏ,ต
t
[tɕ]
ch
[k]
k
[ʔ]
ไม่ก้อง มีลม[pʰ]
ผ,พ,ภ
ph
[tʰ]
ฐ,ฑ,ฒ,ถ,ท,ธ
th
[tɕʰ]
ฉ,ช,ฌ
ch
[kʰ]
ข,ฃ,ค,ฅ,ฆ*kh
เสียงเสียดแทรก[f]
ฝ,ฟ
f
[s]
ซ,ศ,ษ,ส
s
[h]
ห,ฮ
h
เสียงเปิด[w]
w
[l]
ล,ฬ
l
[j]
ญ,ย
y
เสียงรัวลิ้น[r]
r
 และ  เลิกใช้แล้ว ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าภาษาไทยสมัยใหม่มีพยัญชนะเพียง 42 ตัวอักษร

พยัญชนะสะกด

ถึงแม้ว่าพยัญชนะไทยมี 44 รูป 21 เสียงในกรณีของพยัญชนะต้น แต่ในกรณีพยัญชนะสะกดแตกต่างออกไป สำหรับเสียงสะกดมีเพียง 8 เสียง และรวมทั้งไม่มีเสียงด้วย เรียกว่า มาตรา เสียงพยัญชนะก้องเมื่ออยู่ในตำแหน่งตัวสะกด ความก้องจะหายไป
ในบรรดาพยัญชนะไทย นอกจาก  และ  ที่เลิกใช้แล้ว ยังมีพยัญชนะอีก 6 ตัวที่ใช้เป็นตัวสะกดไม่ได้คือ       ดังนั้นตัวสะกดจึงเหลือเพียง 36 ตัวตามตารางอักษรโรมันที่กำกับเป็นระบบถอดอักษรของราชบัณฑิตยสถาน
 ริมฝีปาก
ทั้งสอง
ริมฝีปากล่าง
-ฟันบน
ปุ่มเหงือกเพดานแข็งเพดานอ่อนเส้นเสียง
เสียงนาสิก [m]
m
  [n]
ญ, ณ, น, ร, ล, ฬ
n
  [ŋ]
ง ng
 
เสียงกัก[p̚]
บ, ป, พ, ฟ, ภ
p
  [t̚]
จ, ช, ซ, ฌ, ฎ, ฏ, ฐ, ฑ, ฒ, ด, ต, ถ, ท, ธ, ศ, ษ, ส
t
  [k̚]
ก, ข, ค, ฆ k
 [ʔ]
* -
เสียงเปิด [w]
o (w)
  [j]
i (y)
 
* เสียงพยัญชนะกัก เส้นเสียง จะปรากฏเฉพาะหลังสระเสียงสั้นเมื่อไม่มีพยัญชนะสะกด

กลุ่มพยัญชนะ

แต่ละพยางค์ในคำหนึ่ง ๆ ของภาษาไทยแยกออกจากกันอย่างชัดเจน (ไม่เหมือนภาษาอังกฤษที่พยัญชนะสะกดอาจกลายเป็นพยัญชนะต้นในพยางค์ถัดไป หรือในทางกลับกัน) ดังนั้นพยัญชนะหลายตัวของพยางค์ที่อยู่ติดกันจะไม่รวมกันเป็นกลุ่มพยัญชนะเลย
ภาษาไทยมีกลุ่มพยัญชนะเพียงไม่กี่กลุ่ม ประมวลคำศัพท์ภาษาไทยดั้งเดิมระบุว่ามีกลุ่มพยัญชนะ (ที่ออกเสียงรวมกันโดยไม่มีสระอะ) เพียง 11 แบบเท่านั้น เรียกว่า พยัญชนะควบกล้ำ หรือ อักษรควบกล้ำ อักษรโรมันที่กำกับเป็นระบบถอดอักษรของราชบัณฑิตยสถาน
ริมฝีปากปุ่มเหงือกเพดานอ่อน
พยัญชนะเดี่ยว/p/
ป p
/pʰ/
ผ, พ ph
/t/
ต t
/k/
ก k
/kʰ/
ข, ฃ, ค, ฅ kh
เสียงรัว/r/
/pr/
ปร pr
/pʰr/
พร phr
/tr/
ตร tr
/kr/
กร kr
/kʰr/
ขร, ฃร, คร khr
เสียงเปิด/l/
/pl/
ปล pl
/pʰl/
ผล, พล phl
/kl/
กล kl
/kʰl/
ขล, คล khl
/w/
/kw/
กว kw/qu
/kʰw/
ขว, ฃว, คว, ฅว khw
พยัญชนะควบกล้ำมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยจากคำยืมภาษาต่างประเทศ อาทิ จันทรา จากภาษาสันสกฤต มีเสียง ทร /tʰr/ฟรี จากภาษาอังกฤษ มีเสียง ฟร /fr/ เป็นต้น เราสามารถสังเกตได้ว่า กลุ่มพยัญชนะเหล่านี้ถูกใช้เป็นพยัญชนะต้นเท่านั้น ซึ่งมีเสียงพยัญชนะตัวที่สองเป็น ร ล หรือ ว และกลุ่มพยัญชนะจะมีเสียงไม่เกินสองเสียงในคราวเดียว การผันวรรณยุกต์ของคำขึ้นอยู่กับไตรยางศ์ของพยัญชนะตัวแรก

สระ

Wikibooks
วิกิตำรา มีคู่มือ ตำรา หรือวิธีการเกี่ยวกับ:
ภาษาไทย/ไวยากรณ์/ภาษาไทยเบื้องต้น/สระ
เสียงสระในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ สระเดี่ยว สระประสม และสระเกิน สะกดด้วยรูปสระพื้นฐานหนึ่งตัวหรือหลายตัวร่วมกัน (ดูที่ อักษรไทย)
สระเดี่ยว หรือ สระแท้ คือสระที่เกิดจากฐานเพียงฐานเดียว มีทั้งสิ้น 18 เสียง อักษรโรมันที่กำกับเป็นระบบถอดอักษรของราชบัณฑิตยสถาน
 ลิ้นส่วนหน้าลิ้นส่วนหลัง
ปากเหยียดปากเหยียดปากห่อ
สั้นยาวสั้นยาวสั้นยาว
ลิ้นยกสูง/i/
–ิ i
/iː/
–ี i
/ɯ/
–ึ ue
/ɯː/
–ื ue
/u/
–ุ u
/uː/
–ู u
ลิ้นกึ่งสูง/e/
เ–ะ e
/eː/
เ– e
/ɤ/
เ–อะ oe
/ɤː/
เ–อ oe
/o/
โ–ะ o
/oː/
โ– o
ลิ้นกึ่งต่ำ/ɛ/
แ–ะ ae
/ɛː/
แ– ae
  /ɔ/
เ–าะ o
/ɔː/
–อ o
ลิ้นลดต่ำ  /a/
–ะ a
/aː/
–า a
  
สระเดี่ยว
สระเดี่ยว
สระประสม
สระประสม
สระประสม คือสระที่เกิดจากสระเดี่ยวสองเสียงมาประสมกัน เกิดการเลื่อนของลิ้นในระดับสูงลดลงสู่ระดับต่ำ ดังนั้นจึงสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "สระเลื่อน" มี 3 เสียงดังนี้
  • เ–ีย /iːa/ ประสมจากสระ อี และ อา ia
  • เ–ือ /ɯːa/ ประสมจากสระ อือ และ อา uea
  • –ัว /uːa/ ประสมจากสระ อู และ อา ua
ในบางตำราจะเพิ่มสระสระประสมเสียงสั้น คือ เ–ียะ เ–ือะ –ัวะ ด้วย แต่ในปัจจุบันสระเหล่านี้ปรากฏเฉพาะคำเลียนเสียงเท่านั้น เช่น เพียะ เปรี๊ยะ ผัวะ เป็นต้น
สระเสียงสั้นสระเสียงยาวสระเกิน
ไม่มีตัวสะกดมีตัวสะกดไม่มีตัวสะกดมีตัวสะกดไม่มีตัวสะกดมีตัวสะกด
–ะ–ั–1, -รร, -รร-–า–า––ำ(ไม่มี)
–ิ–ิ––ี–ี–ใ–(ไม่มี)
–ึ–ึ––ือ–ื–ไ–(ไม่มี)
–ุ–ุ––ู–ู–เ–า(ไม่มี)
เ–ะเ–็–, เ––2เ–เ––ฤ, –ฤฤ–, –ฤ–
แ–ะแ–็–, แ––2แ–แ––ฤๅ, –ฤๅ(ไม่มี)
โ–ะ––โ–โ––ฦ, –ฦฦ–, –ฦ–
เ–าะ–็อ–, -อ-2–อ–อ–, ––3ฦๅ, –ฦๅ(ไม่มี)
–ัวะ–็ว––ัว–ว–
เ–ียะ(ไม่มี)เ–ียเ–ีย–
เ–ือะ(ไม่มี)เ–ือเ–ือ–
เ–อะเ–ิ–4,
เ––4
เ–อเ–ิ–,
เ––5,
เ–อ–6
สระเกิน คือสระที่มีเสียงของพยัญชนะปนอยู่ มี 8 เสียงดังนี้
  • –ำ /am, aːm/ am ประสมจาก อะ + ม (อัม) เช่น ขำ บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาม) เช่น น้ำ
  • ใ– /aj, aːj/ ai ประสมจาก อะ + ย (อัย) เช่น ใจ บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาย) เช่น ใต้
  • ไ– /aj, aːj/ ai ประสมจาก อะ + ย (อัย) เช่น ไหม้ บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาย) เช่น ไม้
  • เ–า /aw, aːw/ ao ประสมจาก อะ + ว (เอา) เช่น เกา บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาว) เช่น เก้า
  • ฤ /rɯ/ rue, ri, roe ประสมจาก ร + อึ (รึ) เช่น ฤกษ์ บางครั้งเปลี่ยนเป็น /ri/ (ริ) เช่น กฤษณะ หรือ /rɤː/ (เรอ) เช่นฤกษ์
  • ฤๅ /rɯː/ rue ประสมจาก ร + อือ (รือ)
  • ฦ /lɯ/ lue ประสมจาก ล + อึ (ลึ)
  • ฦๅ /lɯː/ lue ประสมจาก ล + อือ (ลือ)
บางตำราก็ว่าสระเกินเป็นพยางค์ ไม่ถูกจัดว่าเป็นสระ
สระบางรูปเมื่อมีพยัญชนะสะกด จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปสระ สามารถสรุปได้ตามตารางด้านขวา
  1. คำที่สะกดด้วย –ั + ว นั้นไม่มี เพราะซ้ำกับ –ัว แต่เปลี่ยนไปใช้ เ–า แทน
  2. สระ เ-ะ แ-ะ เ-าะ ที่มีวรรณยุกต์ ใช้รูปเดียวกับสระ เ– แ- -อ ตามลำดับ เช่น เผ่น เล่น แล่น แว่น ผ่อน กร่อน
  3. คำที่สะกดด้วย –อ + ร จะลดรูปเป็น –ร ไม่มีตัวออ เช่น พร ศร จร ซึ่งก็จะไปซ้ำกับสระ โ–ะ ดังนั้นคำที่สะกดด้วย โ–ะ + ร จึงไม่มี
  4. สระ เ–อะ ที่มีตัวสะกดใช้รูปเดียวกับสระ เ–อ[4] เช่น เงิน เปิ่น เห่ย
  5. คำที่สะกดด้วย เ–อ + ย จะลดรูปเป็น เ–ย ไม่มีพินทุ์อิ เช่น เคย เนย เลย ซึ่งก็จะไปซ้ำกับสระ เ– อย่างไรก็ตาม คำที่สะกดด้วย เ– + ย จะไม่มีในภาษาไทย
  6. พบได้น้อยคำ เช่น เทอญ เทอม

วรรณยุกต์

เสียงวรรณยุกต์

คำเป็น
เสียงวรรณยุกต์ ในภาษาไทย (เสียงดนตรีหรือเสียงผัน) จำแนกออกได้เป็น 5 เสียง ได้แก่
เสียงวรรณยุกต์ตัวอย่าง
เสียงระดับเสียงอักษรไทยสัทอักษรสากล
หน่วยเสียงเสียง
สามัญกลางนา/nāː/[naː˧]
เอกกึ่งต่ำ-ต่ำ หรือ ต่ำอย่างเดียวหน่า/nàː/[naː˨˩] หรือ [naː˩]
โทสูง-ต่ำน่า/หน้า/nâː/[naː˥˩]
ตรีกึ่งสูง-สูง หรือ สูงอย่างเดียวน้า/náː/[naː˦˥] หรือ [naː˥]
จัตวาต่ำ-กึ่งสูงหนา/nǎː/[naː˩˩˦] หรือ [naː˩˦]
คำตาย
เสียงวรรณยุกต์ในคำตายสามารถมีได้แค่เพียง 3 เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงเอก เสียงโท และ เสียงตรี โดยขึ้นอยู่กับความสั้นความยาวของสระ เสียงเอกสามารถออกเสียงควบคู่กับได้สระสั้นหรือยาว เสียงตรีสามารถออกเสียงควบคู่กับสระสั้น และ เสียงโทสามารถออกเสียงควบคู่กับสระยาว อาทิ
เสียงสระตัวอย่าง
อักษรไทยหน่วยเสียงเสียง
เอกสั้นหมัก/màk/[mak̚˨˩]
ยาวหมาก/màːk/[maːk̚˨˩]
ตรีสั้นมัก/mák/[mak̚˦˥]
โทยาวมาก/mâːk/[maːk̚˥˩]
แต่อย่างใดก็ดี ในคำยืมบางคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาอังกฤษ คำตายสามารถมีเสียงตรีควบคู่กับสระยาว และเสียงโทควบคู่กับสระสั้นได้ด้วย อาทิ
เสียงสระตัวอย่าง
อักษรไทยหน่วยเสียงเสียงอังกฤษ
ตรียาวมาร์ก/máːk/[maːk̚˦˥]Marc, Mark
สตาร์ต/sa.táːt/[sa.taːt̚˦˥]start
บาส (เกตบอล)/báːt (.kêt.bɔ̄n) /[baːt̚˦˥ (.ket̚˥˩.bɔn˧)]basketball
โทสั้นเมคอัพ/méːk.ʔâp/[meːk̚˦˥.ʔap̚˥˩]make-up

รูปวรรณยุกต์

ส่วน รูปวรรณยุกต์ มี 4 รูป ได้แก่
รูปวรรณยุกต์ชื่อ
ไทยสัทอักษร
-่ไม้เอก/máːj.ʔèːk/
-้ไม้โท/máːj.tʰōː/
-๊ไม้ตรี/máːj.trīː/
-๋ไม้จัตวา/máːj.t͡ɕàt.ta.wāː/

การเขียนเสียงวรรณยุกต์

ทั้งนี้คำที่มีรูปวรรณยุกต์เดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีระดับเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน ขึ้นอยู่กับระดับเสียงของอักษรนำด้วย เช่น ข้า (ไม้โท) ออกเสียงโทเหมือน ค่า (ไม้เอก) เป็นต้น
รูปวรรณยุกต์
ไม่เขียน-่-้-๊-๋
อักษรสูงเสียงจัตวาเสียงเอกเสียงโท--
ตัวอย่างขาข่าข้า--
กลางเสียงสามัญเสียงเอกเสียงโทเสียงตรีเสียงจัตวา
ตัวอย่างปาป่าป้าป๊าป๋า
ต่ำเสียงสามัญเสียงโทเสียงตรี--
ตัวอย่างคาค่าค้า--

ไวยากรณ์

ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด คำในภาษาไทยจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปไม่ว่าจะอยู่ในกาล (tense) การก (case) มาลา (mood) หรือวาจก (voice) ใดก็ตาม คำในภาษาไทยไม่มีลิงก์ (gender) ไม่มีพจน์ (number) ไม่มีวิภัตติปัจจัย แม้คำที่รับมาจากภาษาผันคำ (ภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย) เป็นต้นว่าภาษาบาลีสันสกฤต เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูป คำในภาษาไทยหลายคำไม่สามารถกำหนดหน้าที่ของคำตายตัวลงไปได้ ต้องอาศัยบริบทเข้าช่วยในการพิจารณา เมื่อต้องการจะผูกประโยค ก็นำเอาคำแต่ละคำมาเรียงติดต่อกันเข้า ภาษาไทยมีโครงสร้างแตกกิ่งไปทางขวา คำคุณศัพท์จะวางไว้หลังคำนาม ลักษณะทางวากยสัมพันธ์โดยรวมแล้วจะเป็นแบบ 'ประธาน-กริยา-กรรม'

วากยสัมพันธ์

ลักษณะทางวากยสัมพันธ์หรือการเรียงลำดับคำในประโยคโดยรวมแล้วจะเรียงเป็น 'ประธาน-กริยา-กรรม' (subject-verb-object หรือ SVO) อย่างใดก็ดี ในบางกรณีเช่นในกรณีที่มีการเน้นความหมายของกรรม (topicalization) สามารถเรียงประโยคเป็น กรรม-ประธาน-กริยา ได้ด้วย แต่ต้องใช้คำชี้เฉพาะเติมหลังคำกรรมคำนั้น อาทิ
กรณีลำดับคำตัวอย่าง
ธรรมดา
(unmarked)
ประธาน-กริยา-กรรมวัวกินหญ้าแล้ว
เน้นกรรม
(object topicalization)
กรรม-ประธาน-กริยาหญ้านี้ วัวกินแล้ว
หรือ
หญ้าเนียะ วัวกินแล้ว

สำเนียงย่อย

สำเนียงถิ่นในภาษาไทย สามารถแบ่งได้ดังนี้
กลุ่มภาษาถิ่นพื้นที่ที่ใช้เป็นภาษาหลัก
ภาษาไทยที่ราบภาคกลางสามารถจำแนกได้อีกเป็นภาคกลางตะวันออกคือ: จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดนครนายกจังหวัดนครสวรรค์จังหวัดลพบุรีจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครจังหวัดสระบุรีจังหวัดสระแก้วจังหวัดจันทบุรีจังหวัดปราจีนบุรี, พื้นที่ส่วนใหญ่ในจังหวัดตราด, พื้นที่เกือบทั้งหมดในจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดนนทบุรีและจังหวัดปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร (ฝั่งธนบุรีและฝั่งมีนบุรี)
สามารถจำแนกได้อีกเป็นภาคกลางตะวันตกคือ: จังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดอ่างทองจังหวัดชัยนาทจังหวัดนครปฐมจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดอุทัยธานี, พื้นที่ส่วนใหญ่ในจังหวัดกาญจนบุรีอำเภออุ้มผางจังหวัดระยอง และ อำเภอสัตหีบ
ภาษาไทยเมืองหลวงกรุงเทพมหานคร (ฝั่งพระนครริมแม่น้ำเจ้าพระยา), จังหวัดนนทบุรี (บางส่วนของอำเภอเมืองและอำเภอปากเกร็ด), บางส่วนในอำเภอเมืองปทุมธานีอำเภอบางปะกงจังหวัดชลบุรี (ยกเว้นอำเภอสัตหีบ), อำเภอหาดใหญ่, บางส่วนในอำเภอบ้านดอน, บางส่วนในอำเภอนางรอง และตามชุมชนเมืองต่างๆ
ภาษาไทยสุโขทัยจังหวัดสุโขทัยจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชร และบางส่วนของจังหวัดอุตรดิตถ์
ภาษาไทยตะวันตกเฉียงใต้จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ยกเว้นอำเภอทับสะแกอำเภอบางสะพานและอำเภอบางสะพานน้อย), จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรี
ภาษาไทยโคราช*จังหวัดนครราชสีมา (ยกเว้น อำเภอปักธงชัยอำเภอสูงเนิน และ อำเภอบัวใหญ่), บางส่วนของจังหวัดชัยภูมิ, บางส่วนของจังหวัดเพชรบูรณ์
  • หมายเหตุ บางครั้งภาษาไทยถิ่นนี้อาจถูกจำแนกเป็นอีกภาษา

การยืมคำจากภาษาอื่น

ภาษาไทยเป็นภาษาหนึ่งที่มีการยืมคำมาจากภาษาอื่น ๆ ค่อนข้างสูงมาก มีทั้งแบบยืมมาจากภาษาในตระกูลภาษาไท-กะได ด้วยกันเอง และข้ามตระกูลภาษา โดยส่วนมากจะยืมมาจากภาษาบาลีภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร ซึ่งมีทั้งรักษาคำเดิม ออกเสียงใหม่ สะกดใหม่ หรือเปลี่ยนความหมายใหม่ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน
บางครั้งเป็นการยืมมาซ้อนคำ เกิดเป็นคำซ้อน คือ คำย่อยในคำหลัก มีความหมายเดียวกันทั้งสอง เช่น
  • ดั้งจมูก โดยมีคำว่าดั้ง เป็นคำในภาษาไท ส่วนจมูก เป็นคำในภาษาเขมร
  • อิทธิฤทธิ์ มาจาก อิทธิ (iddhi) ในภาษาบาลี ซ้อนกับคำว่า ฤทธิ (ṛddhi) ในภาษาสันสกฤต โดยทั้งสองคำมีความหมายเดียวกัน
คำจำนวนมากในภาษาไทย ไม่ใช้คำในกลุ่มภาษาไท แต่เป็นคำที่ยืมมาจากกลุ่มภาษาสันสกฤต-ปรากฤต โดยมีตัวอย่างดังนี้
รักษารูปเดิม หรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
  • วชิระ (บาลี: วชิระ [vajira]), วัชระ (สันส: วัชร [vajra])
  • ศัพท์ (สันส: ศัพทะ [śabda]), สัท (เช่น สัทอักษร) (บาลี: สัททะ [sadda])
  • อัคนี และ อัคคี (สันส: อัคนิ [agni] บาลี: อัคคิ [aggi])
  • โลก (โลก) – บาลี-สันส: โลกะ [loka]
  • ญาติ (ยาด) – บาลี: ญาติ (ยา-ติ) [ñāti]
เสียง พ มักแผลงมาจาก ว
  • เพียร (มาจาก พิริยะ และมาจาก วิริยะ อีกทีหนึ่ง) (สันส:วีรยะ [vīrya], บาลี:วิริยะ [viriya])
  • พฤกษา (สันส:วฤกษะ [vṛkṣa])
  • พัสดุ (สันส: [vastu] (วัสตุ); บาลี: [vatthu] (วัตถุ) )
เสียง -อระ เปลี่ยนมาจาก -ะระ
  • หรดี (หอ-ระ-ดี) (บาลี:หรติ [harati] (หะระติ))
เสียง ด มักแผลงมาจาก ต
  • หรดี (หอ-ระ-ดี) (บาลี:หรติ [harati] (หะระติ))
  • เทวดา (บาลี:เทวะตา [devatā])
  • วัสดุ และ วัตถุ (สันส: [vastu] (วัสตุ); บาลี: [vatthu] (วัตถุ))
  • กบิลพัสดุ์ (กะ-บิน-ละ-พัด) (สันส: [kapilavastu] (กปิลวัสตุ); บาลี: [kapilavatthu] (กปิลวัตถุ))
เสียง บ มักแผลงมาจาก ป
  • กบิลพัสดุ์ (กะ-บิน-ละ-พัด) (สันส: [kapilavastu] (กปิลวัสตุ); บาลี: [kapilavatthu] (กปิลวัตถุ))
  • บุพเพ และ บูรพ (บาลี: [pubba] (ปุพพ))

ภาษาอังกฤษ

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีวิวัฒนาการต่างๆ ทางเทคโนโลยีมากมาย ซึ่งทำให้มีการใช้ภาษาอังกฤษกันอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ก็ได้มีการบัญญัติศัพท์จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย เช่น[5]
  • ประปา จากคำว่า วอเตอสับไปล (water supply)
  • สถานี จากคำว่า สเตชัน (station)
  • รถยนต์ จากคำว่า รถมอเตอร์คาร์ (motorcar)
  • เรือยนต์ จากคำว่า เรือมอเตอร์ (motorboat)
  • ประมวล จากคำว่า โค้ด (code)[6]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. กระโดดขึ้น Thai at Ethnologue (18th ed., 2015)
  2. กระโดดขึ้น โหมโรง, รัฐนิยม, จอมพล ป. พิบูลสงคราม ประวัติศาสตร์ที่ต้องไม่บิดเบือน
  3. กระโดดขึ้น ศูนย์การแปลและล่ามเฉลิมพระเกียรติ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แปล ; ปรีมา มัลลิกะมาส, นริศรา จักรพงษ์, ไพศาลย์ เปี่ยมเมตตาวัฒน์ บรรณาธิการ, พจนานุกรมออกซฟอร์ด-ริเวอร์ บุ๊คส์ อังกฤษไทย, River Books, 2549, หน้า 1041
  4. กระโดดขึ้น http://www.thai-language.com/ref/vowels#monophthong-chart
  5. กระโดดขึ้น ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๖ น่า ๗๘๖ วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๑๒๘ แจ้งความกรมราชเลขานุการ เรื่อง กำหนดให้เรียกคำบางคำในภาษาอังกฤษ เป็นคำภาษาไทย คือคำว่าวอเตอสัปไปล ให้เรียกว่าประปา คำว่าสเตชัน ให้เรียกว่าสถานี คำว่ารถมอเตอร์คาร์ ให้เรียกว่ารถยนต์ คำว่าเรือมอเตอร์ ให้เรียกว่าเรือยนตร์
  6. กระโดดขึ้น ราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๑๒๘ เล่ม ๖๖ น่า ๑๐๖๐ แจ้งความกรมราชเลขานุการ เรื่อง ให้กำหนดเรียกคำว่า ประมวล แทนคำที่เรียกตามภาษาอังกฤษว่า โค้ด
  • กำชัย ทองหล่อ. หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ : บำรุงสาส์น, 2533.
  • นันทนา รณเกียรติ. สัทศาสตร์ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548. ISBN 978-974-571-929-3.
  • อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล และ กัลยารัตน์ ฐิติกานต์นารา. 2549.“การเน้นพยางค์กับทำนองเสียงภาษาไทย” (Stress and Intonation in Thai) วารสารภาษาและภาษาศาสตร์ ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (มกราคม – มิถุนายน 2549) หน้า 59-76
  • สัทวิทยา : การวิเคราะห์ระบบเสียงในภาษา. 2547. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • Gandour, Jack, Tumtavitikul, Apiluck and Satthamnuwong, Nakarin.1999. “Effects of Speaking Rate on the Thai Tones.” Phonetica 56, pp.123-134.
  • Tumtavitikul, Apiluck, 1998. “The Metrical Structure of Thai in a Non-Linear Perspective”. Papers presentd to the Fourth Annual Meeting of the Southeast Asian Linguistics Society 1994, pp. 53-71. Udom Warotamasikkhadit and Thanyarat Panakul, eds. Temple, Arizona: Program for Southeast Asian Studies, Arizona State University.
  • Apiluck Tumtavitikul. 1997. “The Reflection on the X’ category in Thai”. Mon-Khmer Studies XXVII, pp. 307-316.
  • อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล. 2539. “ข้อคิดเกี่ยวกับหน่วยวากยสัมพันธ์ในภาษาไทย” วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ. 4.57-66.
  • Tumtavitikul, Appi. 1995. “Tonal Movements in Thai”. The Proceedings of the XIIIth International Congress of Phonetic Sciences, Vol. I, pp. 188-121. Stockholm: Royal Institute of Technology and Stockholm University.
  • Tumtavitikul, Apiluck. 1994. “Thai Contour Tones”. Current Issues in Sino-Tibetan Linguistics, pp.869-875. Hajime Kitamura et al, eds, Ozaka: The Organization Committee of the 26th Sino-Tibetan Languages and Linguistics, National Museum of Ethnology.
  • Tumtavitikul, Apiluck. 1993. “FO – Induced VOT Variants in Thai”. Journal of Languages and Linguistics, 12.1.34 – 56.
  • Tumtavitikul, Apiluck. 1993. “Perhaps, the Tones are in the Consonants?” Mon-Khmer Studies XXIII, pp.11-41.

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikibooks
วิกิตำรา มีคู่มือ ตำรา หรือวิธีการเกี่ยวกับ:
ภาษาไทย